สำรวจมุมมองของ Boris Cherny จาก Anthropic เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการเขียนโปรแกรมตั้งแต่ยุคบัตรเจาะรูจนถึง AI สมัยใหม่ พร้อมแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Claude Code ในยุค AI ที่ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว
สำรวจการเดินทางของ OpenAI จากความฝันสู่ความจริงกับ Sam Altman พร้อมบทเรียนการสร้างทีม AI ชั้นนำและเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง ChatGPT และฟีเจอร์ Memory ที่เปลี่ยนแปลงโลก AI ไปตลอดกาล
5 AI Startup เปิดตัว AI Startup Alliance และ AI Developer Group
5 AI Startups ได้แก่ AThenaAI, Perceptra, Gowajee, Eidy และ Float16 ได้ร่วมกับเปิดตัว AI Startup Alliance และ AI Developer Group
AI Startup Alliance คือความร่วมมือระหว่างบริษัททั้ง 5 บริษัท เนื่องมาจาก
ปัญหาสำคัญที่พบในอุตสาหกรรม AI ของประเทศไทย คือเกิดจากโครงสร้างของอุตสาหกรรม AI ที่ยังไม่เหมาะสมเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม AI ของประเทศชั้นนำของโลก ตัวอย่างโครงสร้าง Value chain สำหรับอุตสาหกรรม AI ในต่างประเทศแบ่งออกเป็น 5 ลำดับขั้น ได้แก่
1) Infrastructure (Datacenter, ต้นน้ำ)
2) Manage service
3) AI Model
4) Application (Startup, Software house)
5) Service and Solution (Turnkey solution, System integrator, ปลายน้ำ)
ปัญหาหลักของ AI Startup ในปัจจุบัน คือความจำเป็นต้องทำทุกอย่างตั้งแต่ต้นน้ำ (การซื้อหรือเช่าเซิร์ฟเวอร์เอง) ไปจนถึงปลายน้ำ (การให้บริการ AI ผ่านแอปพลิเคชันของตนเอง) เพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้ ส่งผลให้ต้องใช้ทีมงานขนาดใหญ่และต้องทำงานในส่วนที่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญหลักของผู้ก่อตั้งบริษัท
ความร่วมมือระหว่าง 5 AI Startup ที่มารวมตัวกันในครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์ใหม่ในวงการ AI Startup ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการ โครงสร้างหรือระบบนิเวศที่มีผู้เล่นหลากหลาย เพื่อทดแทนการสร้างทุกอย่างอย่างโดดเดียว อันอาจส่งผลให้ AI ไทยไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
เป้าหมายของระบบนิเวศนี้คือการสร้างพื้นที่ให้นักพัฒนา AI ในส่วนต่างๆ ของ Value chain มีที่จุดร่วมและจุดเริ่มต้นในอุตสาหากรรม AI โดยมีการเชิญชวนสตาร์ทอัพอื่นๆ ให้เข้าร่วมกลุ่มมากขึ้น ด้วยความคาดหวังว่าหากการริเริ่มครั้งนี้ประสบความสำเร็จ จะเกิดความร่วมมือในลักษณะนี้มากขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน
5 AI Startup ที่ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ได้ตกลงร่วมมือกันใน 4 มิติ ได้แก่
ชุมชนนักพัฒนาและเทคโนโลยีขั้นสูง (AI Developer Group) เนื่องจากตลาดของอุตสาหกรรม AI ต้องการความรู้พื้นฐานและความเข้าใจ AI อย่างยิ่งยวด ประกอบกับสื่อและความเท่าทันด้านเทคโนโลยีในประเทศไทยยังตามหลังประเทศชั้นนำระดับโลกส่งผลให้การบริโภค AI Software ในประเทศไทยเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ จำเป็นต้องมีกระบวนการก่อนการขาย (Pre-sale) ที่ยาวนานและต้องให้ความรู้แก่ลูกค้าเพิ่มเติมเพื่อให้องค์กรไทยยอมรับและใช้เทคโนโลยี เมื่อเทียบกับตลาดต่างประเทศ ทำให้มีต้นทุนแฝงที่มากขึ้นจึงมีแผนที่จะร่วมมือกันสร้าง AI Developer Group เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการพัฒนา AI ที่มีมาตรฐานและการนำ AI ไปใช้งานอย่างเหมาะสมนอกจากนี้ Developer ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรม AI ยังขาดวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกัน สังเกตได้จากการที่บริษัท Software ไทย ส่วนใหญ่ไม่มี Developer Advocate หรือ Developer Relationship ที่ช่วยให้บริการต่างๆ เชื่อมต่อกันได้ อีกทั้งยังขาดความเข้าใจภาพรวมของ Value chain เช่น การทำธุรกิจแบบ API first หรือการทำธุรกิจแบบ Infrastructure จึงมีความตั้งใจที่จะรวมตัวกันเพื่อสร้างองค์ความรู้และแหล่งข้อมูลการศึกษาในส่วนของ Developer เพิ่มขึ้น
การวิจัย มีการตระหนักถึงความซ้ำซ้อนและโอกาสในการร่วมกันพัฒนาการวิจัยระหว่าง Startup โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการได้มาซึ่งข้อมูลเพื่อใช้สำหรับพัฒนา AI ของแต่ละ Startup การร่วมมือทำงานวิจัยร่วมกันจะช่วยให้เกิดการแบ่งปันความรู้และทำให้ผู้พัฒนาแต่ละรายสามารถพัฒนาเทคโนโลยีของตนได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและต้นทุนถูกลง
การสร้างสื่อประเภท Edutainment เกี่ยวกับเทคโนโลยี AI และการประยุกต์ใช้ API หรือ AI เป็นส่วนหนึ่งของ Feature ใน Application หรือ Solution สำหรับ System Integrator ตลอดจนการสร้างแหล่งข้อมูลการศึกษาสำหรับ Developer ในด้านการพัฒนา AI ที่ได้มาตรฐาน
Float16 รับผิดชอบในการสร้างชุมชนนักวิจัย AI ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA AI researcher community) โดยร่วมมือกับทีม Sailor และ SeaLLM โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงนักวิจัย AI เข้าด้วยกัน
เสริมสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในเชิงลึกที่จำเป็นในการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานทั้ง Value Chain
SI สามารถ Upskill ด้าน AI use case ของตนเอง ได้ผ่านทางช่องทางออนไลน์และสื่อที่เผยแพร่ทาง Youtube และสามารถถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับ AI Application หรือ Use case ได้ใน Social group
สามารถ Upskill ด้าน AI Application ของตนเอง ได้ผ่านทางช่องทางออนไลน์และสื่อที่เผยแพร่ทาง Youtube และสามารถถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับ AI Application หรือ Use case ได้ใน Social group
Perceptra เป็นผู้พัฒนาแพล็ตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์เพื่อภาพถ่ายทางการแพทย์ที่สร้าง AI Assistant ที่ช่วยแพทย์รังสีวินิจฉัยภาพถ่ายเอกซเรย์ปอด ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เพอเซ็ปทราเป็นผู้บุกเบิกและผู้นำในตลาดปัญญาประดิษฐ์เพื่อการแพทย์ สามารถขยายฐานลูกค้าได้กว่า 90 โรงพยาบาลทั่วประเทศ และเป็นผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์เจ้าแรกของประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐาน ISO ระดับโลกและได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาในประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ ในปี 2024 พอร์ทโฟลิโอของเพอเซ็ปทราจะขยายเพิ่มในส่วนของ AI เพื่อช่วยวินิจฉัยมะเร็งเต้านมจากภาพถ่ายแมมโมแกรม AI เพื่อตรวจเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในภาพถ่ายจาก Fundus Camera และ AI เพื่อช่วยตรวจวินิจฉัยภาพ CT สมอง
Eidy
Eidy คือ โมเดลภาษาขนาดใหญ่ทางด้านการแพทย์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนา Foundation model เป็นหลัก การสร้าง Foundation model อย่าง LLM ให้ฉลาดและมีความปลอดภัยเพียงพอต้องใช้ความร่วมมือ Resource มหาศาล ทั้งยังควรได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ และการขยายกฏระเบียบเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับการทำ research และ implementation ในโลกจริง
Gowajee
Gowajee เป็นสตาร์ทอัพด้าน AI ที่ทำ foundational model เชี่ยวชาญด้านการถอดความและ generative voice ภารกิจของเราคือการสร้างการโต้ตอบด้วยเสียงอย่างราบรื่นข้ามแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน Gowajee ก่อตั้งโดย serial entreprenur และนักวิจัยจาก Oxford และ MIT
เจาะลึกการเข้าซื้อ Windsurf IDE ของ OpenAI เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในตลาด AI Coding ท่ามกลางการแข่งขันดุเดือดจาก Google และ Anthropic พร้อมวิเคราะห์แนวโน้มและบทบาทของ Windsurf ในตลาดองค์กร