สำรวจมุมมองของ Boris Cherny จาก Anthropic เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการเขียนโปรแกรมตั้งแต่ยุคบัตรเจาะรูจนถึง AI สมัยใหม่ พร้อมแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Claude Code ในยุค AI ที่ก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว
สำรวจการเดินทางของ OpenAI จากความฝันสู่ความจริงกับ Sam Altman พร้อมบทเรียนการสร้างทีม AI ชั้นนำและเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง ChatGPT และฟีเจอร์ Memory ที่เปลี่ยนแปลงโลก AI ไปตลอดกาล
เมื่อถามถึงการเติบโตของ Cariva ว่ามาถึงจุดใดแล้ว คุณศิวดล บอกว่าปัจจุบันมาไกลพอสมควร นับตั้งแต่วันที่ได้รับการสนับสนุนจาก ปตท.สผ. โดยกำลังอยู่ในช่วงยกระดับ AI ให้เป็น Deep Tech มากขึ้น ด้วยการร่วมมือกับแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช เพื่อช่วยพัฒนา AI ทางการแพทย์ ให้ยกระดับสุขภาพคนไทยได้จริง
“เราร่วมมือกันพัฒนาโมเดลที่มีชื่อว่า Multimodal Analysis เราตั้งใจสร้าง AI เพื่อช่วยคุณหมอวินิจฉัยโรคในโรงพยาบาลให้แม่นยำขึ้น และผิดพลาดต่ำครับ AI จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มหาศาล เพื่อช่วยหมอหาสิ่งที่อาจจะหาไม่เจอ หรือต้องใช้เวลามากๆ เพื่อทำให้เกิด Personalized Care หรือการเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคนมากที่สุด”
ถึง AI จะดูเก่งกาจมากแค่ไหน แต่ผู้ร่วมก่อตั้ง Cariva ยืนยันว่า อย่างไรเสียก็ต้องมีแพทย์เป็นผู้รักษาคนไข้อยู่ดี และไม่ควรให้ใครที่ไหนเอา AI ไปใช้งานง่ายๆ ด้วย
“AI เหมือนกับรถแข่ง Formula 1 ครับ แล้วแพทย์ก็คือนักแข่งรถมืออาชีพ ถ้าเราเอารถ F1 ไปให้คนทั่วไปขับ มันอาจเกิดอันตรายได้ เราค่อนข้างระมัดระวังว่าต้องให้แพทย์เป็นผู้ใช้งานหลักเท่านั้น เราต้องยึดหลักการ Put the Right AI on the Right คนขับ”
อีกเรื่องที่ต้องระวังก็คือ AI ที่ถูกเทรนด้วยองค์ความรู้จากต่างประเทศ จะไม่สามารถนำมาใช้กับบริบทของสังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“หรือไม่ต้องเป็นเรื่อง AI ก็ได้ แต่โรคบางโรคมีแค่ในบางพื้นที่เท่านั้น บางทีคนไทยกับคนต่างชาติป่วยด้วยโรคเดียวกัน แต่หมอไทยกับหมอต่างชาติจ่ายยาไม่เหมือนกัน แต่ละพื้นที่ถึงมี Medical Guideline ที่ผ่านการปรับให้เหมาะสมกับบริบทการรักษาคนในแต่ละชาติครับ”
ประเด็นต่อมาที่เขากังวลก็คือ คนจะกลัวการใช้ AI และนำ AI มาใช้ไม่เป็น รวมถึงหากมีองค์กรไหนออกคำสั่งห้ามใช้ มันจะทำลายโอกาสที่จะทำให้ประเทศไทยแข่งขันกับชาวบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ
“อย่าลืมว่า คนทั่วโลกเขาใช้ AI กันหมด ถ้าเราเป็นประเทศเดียวที่ไม่ใช้ เราจะไม่สามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ หรือสู้กับใครอย่างทัดเทียมได้เลย และเราต้องใช้เป็น ใช้อย่างระมัดระวัง อย่าคิดว่ามันเป็นของเล่นครับ ขอย้ำอีกครั้งว่า AI ก็เหมือนรถแข่ง F1 ถ้าเราเข้าใจที่มาที่ไป รู้วิธีสั่งการว่าต้องทำอย่างไรจึงจะได้คำตอบที่แม่นยำที่สุด มันก็จะไม่เกิดเรื่องผิดพลาดตามมา” ผู้ร่วมก่อตั้ง Cariva ยืนยัน
คาดการณ์อนาคต Medical Tourism คือโอกาสของสังคมไทย
เมื่อถามถึงอนาคตภายหน้าว่า การเอา AI มาใช้ทางการแพทย์จะเติบโตไปเช่นไรบ้าง คุณศิวดลมองว่าปัจจุบันนี้ AI ที่พัฒนาในเมืองไทยกำลังแข็งแกร่งและเติบโตขึ้นมาก ไม่เพียงแค่ของ Cariva เท่านั้น และจะเทียบชั้น AI จากต่างประเทศได้แน่นอนในอนาคตอันใกล้
“ผมคาดว่าอีกไม่เกิน 3-5 ปีข้างหน้า สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ คือ Personalize Care ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากการเติบโตของ AI อีกอย่างที่จะมาก็คือการตรวจพันธุกรรมที่ AI จะทำให้ง่ายขึ้น แพร่หลายมากขึ้น ได้รู้ความเสี่ยงของการจะป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง มากขึ้นครับ”
ดังนั้น แพทย์คนไหนที่ยังไม่เคยใช้งาน AI เลย คุณศิวดลให้คำแนะนำว่าควรต้องเริ่มศึกษา และลองเอามาใช้งานอย่างน้อยก็ขั้นพื้นฐานได้แล้ว มิฉะนั้น แพทย์ที่ไม่เคยใช้งานจะถูกแทนที่ด้วยแพทย์ที่ใช้งาน AI เป็น
แต่หากยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เคล็ดลับง่ายๆ คือดูความน่าเชื่อถือของผู้พัฒนา AI นั้นก่อนว่า มีประสบการณ์อย่างไร มีความร่วมมือกับใครบ้าง หากผู้พัฒนาได้ทำงานร่วมกับแพทย์ที่เก่ง มีความเชี่ยวชาญมากเท่าไหร่ ก็มีโอกาสว่า AI ชนิดนั้นจะช่วยแบ่งเบางานของแพทย์นั้นง่ายขึ้น และรักษาคนไข้ได้อย่างแม่นยำขึ้นตามมา
และหากใครคิดว่า Cariva มีความน่าเชื่อถือจากการร่วมพัฒนา AI กับโรงพยาบาลศิริราช คุณศิวดล ก็ยินดีอย่างยิ่งที่จะเข้าไปให้คำแนะนำโดยตรง ถ้าใครที่สนใจอยากใช้งาน ก็สามารถติดต่อเข้ามาได้เลย
เจาะลึกการเข้าซื้อ Windsurf IDE ของ OpenAI เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในตลาด AI Coding ท่ามกลางการแข่งขันดุเดือดจาก Google และ Anthropic พร้อมวิเคราะห์แนวโน้มและบทบาทของ Windsurf ในตลาดองค์กร